สภาพฐานะและที่ตั้งวัด
วัดปรมัยยิกาวาส เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๕๑ ตำบลเกาะเกร็ด อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
อาณาเขตที่ตั้งวัด ทิศเหนือติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศใต้ติดกับตําบลบางเกาะเกร็ด หมู่ที่ ๑ ทิศตะวันออกติดกับ ลําน้ำลัดเกร็ด ทิศตะวันตกติดกับตําบลบ้านเกาะเกร็ด หมู่ที่ ๗ บริเวณที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ ไม่ลุ่มไม่ดอนนัก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาและลําน้ำลัดเกร็ด มองเด่นเห็นแต่ไกล
ความเป็นมา
วัดปรมัยยิกาวาส เป็นวัดโบราณไม่ปรากฏว่าผู้ใดสร้าง เรียกกันว่า “วัดปากอ่าว” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๗ ในสมัยพระคุณวงศ์ (สน) เป็นเจ้าอาวาสนั้น พระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ได้ทรงปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ครั้ง พ.ศ. ๒๕๑๘ การก่อสร้างเสนาสนะต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้เสด็จพร้อมด้วยพระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ ทรงถวายไตรบริขารและเครื่อง ฯ เสนาสนะแด่พระสงฆ์ และพระราชอุทิศถวายหมู่กุฏิเป็นสังฆิกาวาส แล้วโปรดให้เปลี่ยนนามวัดใหม่ว่า “วัดปรมัยยิกาวาส” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๒๗ กําหนดเขตกว้าง ๑๕ วา ยาว ๒๒ วา
วัดปรมัยยิกาวาสหรือวัดปากอ่าวเดิม กล่าวกันว่า ชาวรามัญที่ได้อพยพมาสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๑๐ - ๒๓๒๕ ตั้งบ้านเรือนที่เกาะเกร็ดได้สร้างสุเมธาจารย์ (เก้า) เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งได้สร้างพระพุทธไสยาสน์ และพระรอบวิหารคด ๔๖ องค์ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้เสด็จพระราชดําเนินทรงทอดผ้าพระกฐิน ณ พระอารามรามัญ แขวงเมืองนนทบุรี ได้ทรงทอดผ้าพระกฐิน ณ วัดปากอ่าว เป็นวัดที่ มีพระสงฆ์ ๙ รูป พระคุณวงศ์ (สน) พระราชาคณะฝ่ายรามัญเป็นประธาน พระองค์ได้ทรงเห็นอาคารเสนาสนะต่าง ๆ ปรักหักพังทรุดโทรมลงมาก ทรงมีพระราชดําริจะสถาปนาขึ้นใหม่ให้สวยงาม และได้ทรงอนุสรณ์ถึงพระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ซึ่งได้อภิบาลพระองค์มาแต่ยังทรงพระเยาว์ ได้รับสั่งอยู่เนือง ๆ ว่า “ถ้าทรงพระเจริญแล้ว ขอให้ช่วยให้ได้สร้างอารามสักอารามหนึ่ง เมื่อพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นภูมิฐานวัดปากอ่าวนี้เป็นที่งดงาม จึงทรงกําหนดพระราชหฤทัยจะปฏิสังขรณ์ ได้ทรงปฏิญาณต่อพระคุณวงศ์ ผู้เป็นเจ้าอาวาสให้ทราบพระราชประสงค์ ในวันนั้น
ครั้นเสด็จขึ้นไปประทับ ณ พระราชวังบางปะอิน ได้ทรงนําพระราชดํารินั้นกราบทูลพระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ท่านก็ทรงปีติปราโมทด้วยที่จะได้บําเพ็ญกุศล ซึ่งได้ทรงตั้งพระหฤทัยไว้แต่เดิม จึงทรงรับจะปฏิสังขรณ์วัดปากอ่าว ประวัติของวัดนี้ ได้จารึกลงในศิลาไว้ที่หน้าพระอุโบสถ
ปูชนียวัตถุ ถาวรวัตถุและอาคารเสนาสนะต่าง ๆ มีดังนี้
พระบรมสารีริกธาตุเจดีย์ พระเจดีย์รามัญ ฐานกว้าง ๕ วา ๓ ศอก สูง ๖ วา ๒ ศอก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดให้สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๑ ได้เสด็จพระราชดําเนินทรง บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๗
พระเจดีย์ย่างกุ้ง ตั้งอยู่ที่แง่ลัดเกร็ด เป็นเจดีย์เก่าแก่ ฐานกว้าง ฐานกว้าง ๔ วา ๑ ศอก สูง ๔ วา
พระพุทธไสยาสน์ ขนาด ๕.๕๐ เมตร พระสุเมธาจารย์ (เถ้า) พระสุเมธาจารย์ (เถ้า) สร้างประมาณ พ.ศ. ๒๓๒๕
พระพุทธรูปหินอ่อนขาว ๒ องค์ องค์ใหญ่หน้าตักกว้าง ๑ ศอก ๑๘ นิ้ว องค์เล็กหน้าตัก ๑ ศอก ๖ นิ้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ พระราชทานองค์ใหญ่ประดิษฐานหน้าพระวิหารด้านเหนือ องค์เล็กประดิษฐานในซุ้มมุขพระบรมสารีริกธาตุเจดีย์
พระนนทมุนินท์ พระศาสนโสภณ (อ่อน) เจ้าคณะมณฑลกรุงเทพสร้างไว้สําหรับเมืองนนทบุรี พระยาราชสงครามนํามาประดิษฐานไว้ด้านใต้ของพระวิหาร
พระพุทธรูปที่ระเบียงวิหารคด ๔๖ องค์
พระอุโบสถ มุขลด ๑ ชั้น มีระเบียงและกําแพงแก้วเขตสีมามีรั้วเหล็กกั้นโดยรอบ สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๒๑
พระวิหาร มุขหน้าหลังลด ๑ ชั้น มีวิหารคดโดยรอบ
ศาลาการเปรียญ ทรงแบบรามัญ
กุฎีสงฆ์ จํานวน ๖ หลัง เป็นตึกก่ออิฐถือปูน
ที่มา : ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๒