วัดชลประทานรังสฤษดิ์ พระอารามหลวง

วัดชลประทานรังสฤษดิ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๗๘ ถนนติวานนท์ หมู่ที่ ๑ ตําบลบางตลาด อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับที่ดินของเอกชน ทิศใต้ติดต่อกับโรงเรียนชลประทานวิทยา ทิศตะวันออกติดต่อกับที่ดินของเอกชน ทิศตะวันตกติดต่อกับถนนติวานนท์

ภายในวัดมีอาคารเสนาสนะต่าง ๆ ดังนี้

อุโบสถ กว้าง ๑๓ เมตร ยาว ๔๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ กุฎีสงฆ์ จํานวน ๑๓๙ หลัง มีทั้งที่เป็นอาคารไม้ อาคารคอนกรีตชั้นเดียวและสองชั้น ศาลาการเปรียญ ศาลาบําเพ็ญกุศล ศาลารับแขก ฌาปนสถาน หอระฆัง โรงเรียนพุทธธรรม ศาลาอบรมกรรมฐาน

สําหรับปูชนียวัตถุ มีพระประธานในอุโบสถองค์ใหญ่ ปางสมาธิ หน้าตักกว้าง ๒ เมตร ออกแบบและสร้างโดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี พระพุทธรูปปางลีลา พร้อมกับพระอัครสาวก อยู่ที่โรงเรียนพุทธธรรมชั้น ๒

วัดชลประทานรังสฤษดิ์ สร้างขึ้นโดยการรวมเอาวัดโบสถ์และวัดเชิงท่าเข้าด้วยกัน และย้ายมาสร้างขึ้นใหม่ได้นามว่า “วัดชลประทานรังสฤษดิ์” โดยมีกรมชลประทานเป็นผู้ดําเนินการทั้งหมด เหตุผลที่ย้ายเนื่องจากกรมชลประทานมีที่ดินด้านตะวันตกติดต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยา วัดโบสถ์และวัดเชิงท่าขวางอยู่ ทําให้ขยายสถานที่สร้างท่าเรือไม่สะดวก จึงได้แลกเปลี่ยนและย้ายวัดทั้งสองวัดมาสร้างขึ้นใหม่ทางทิศตะวันออกถนนติวานนท์ ที่ตั้งอยู่ในปัจจุบัน การย้ายวัดเริ่มดําเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๘ - ๒๕๐๒ เสร็จเรียบร้อยแล้วได้ทําพิธีเปิดวัดมอบถวาย สังฆิกเสนาสนะ ในวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ ในพิธีมีสมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทย) วัดสระเกศ ขณะดํารงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ฝ่ายฆราวาส มีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อ่านพระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับการย้ายวัด ประกาศแก่พระสงฆ์และประชาชนทั้งปวงทราบโดยทั่วกัน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๔ ได้ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๐๔ อนึ่ง วัดโบสถ์และวัดเชิงท่าก่อนที่จะมาเป็นวัดชลประทานรังสฤษดิ์นั้น จะสร้างขึ้นเมื่อใดและใครเป็นผู้สร้างไม่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าได้สร้างขึ้นมานานกว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศรวมวัดทั้งสองเป็นวัดเดียวกันและให้ย้ายมาสร้างวัดใหม่ มีนามว่า “วัดชลประทานรังสฤษดิ์” เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๓

ที่มา : ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๒


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image

image
image
image
image
 
 
 
 

Website Policy | Privacy Policy | Security Policy | Disclaimer | ข้อกำหนดการใช้ Cookies รองรับการทำงานบน Internet Explorer v.11+, Microsoft Edge, Firefox v.47.0+, Chrome v.51+

จำนวนการเข้าชม : 144,513